โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน
โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน คือ การเสื่อมของหูชั้นในข้างเดียว หรือสองข้างอย่างรวดเร็วภายในช่วงเวลาเป็นนาทีชั่วโมง หรือวัน โดยผลตรวจการได้ยินของหูข้างเดียวหรือสองข้างอยู่ที่ระดับ 30 เดซิเบลขึ้นไป โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีเสียงดังรบกวนในหู เวียนศีรษะหมุน อาเจียน หรือเซ เสียการทรงตัว โรคนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
สาเหตุโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน
ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่มีหลักฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด หรือเกิดจากการเสื่อมของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงหูชั้นใน มีส่วนน้อยที่ทราบสาเหตุได้แก่ สาเหตุจากการกระแทกที่ศีรษะ การติดเชื้อซิฟิลิส เนื้องอกของประสาทหู การซักประวัติ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด หรือการตรวจการได้ยิน และการตรวจพิเศษเพิ่มเติม ทำให้พบสาเหตุได้ 10-30 %
การรักษาโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน
ในกรณีที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายใน 2-4 สัปดาห์แรกที่มีอาการ แพทย์จะแนะนำให้นอนโรงพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักและรับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่
ส่วนยาที่ใช้รักษาโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันมีหลายชนิด เช่น
– ยาสเตียรอยด์ (Prednisolone) ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบของหูชั้นใน แต่ยาอาจระคายกระเพาะอาหาร แพทย์มักสั่งให้กินพร้อมยาลดกรด
– ยาวิตามินบี 1 – 6 – 12 บำรุงประสาท
– ยาขยายหลอดเลือด(Betahistine) ยาเพิ่มการใช้ออกซิเจนที่หูชั้นใน (Almitrine หรือ Raubasine)
– Hyperbaric Oxygen
ระยะเวลาการรักษา ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วยส่วนใหญ่การรักษาด้วยยากินใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ สำหรับยาฉีด Meglumine Diatrizoate
จะฉีดจนครบ 10 วัน หากการได้ยินไม่ดีขึ้นจึงหยุดยาผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของประสาทหูเสื่อม เช่น การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับเม็ดเลือด น้ำตาล ไขมัน โรคซิฟิลิส ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น
นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจการได้ยินเป็นระยะ เพื่อดูการฟื้นตัวของประสาทหู หากผลตรวจการได้ยินหลัง 1 เดือน ยังไม่ฟื้นเป็นปกติ แพทย์อาจนัดตรวจพิเศษ เช่น ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (ABR) ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ของประสาทหู เพื่อหาสาเหตุอื่นๆ
การป้องกันและการฟื้นฟูประสาทหู
- หลีกเลี่ยงเสียงดัง
- ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสูงไขมันในเลือดสูง โรคไตโรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด ควบคุมโรคให้ดี
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น Aspirin aminoglycoside quinine
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
- ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภท ที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน)งดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
- พยายามออกก าลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
โทร. 032-322274-80 ต่อ 371, 375