ไข้หวัดใหญ่หากมีภาวะแทรกซ้อน..อันตรายถึงชีวิต!!
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงจมูก ลําคอ และปอด โดยเป็นคนละสายพันธุ์กับไวรัสซึ่งทำให้เกิดโรคไวรัสลงกระเพาะอาหาร อันเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียและอาเจียนโดยปกติแล้วผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สามารถหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ถึงแก่ชีวิต
อาการของไข้หวัดใหญ่
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ดูเผิน ๆ จะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาซึ่งจะค่อย ๆ แสดงอาการดังนี้
- มีไข้ หนาวสั่น และเหงื่อออก
- ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- เจ็บคอและไอแห้ง
- ปวดตา
- มีน้ำมูก จาม
- หายใจถี่
- ท้องเสียและอาเจียนซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก
- เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- อาศัยหรือทำงานในที่แออัด มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคเอชไอวี / เอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ การใช้สเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน
- มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคตับ โรคเลือด โรคระบบประสาท กระบวนการทำงานทางชีวเคมีผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ
- การใช้แอสไพรินในระยะยาวในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี อาจทำให้เป็นโรคเรย์ (Reye’s disease) เป็นโรคที่มี ความผิดปกติของตับร่วมกับสมอง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
- หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะระหว่างไตรมาสที่ 2 หรือ 3
- โรคอ้วน
- เจ็บหน้าอก หายใจถี่
- เวียนศีรษะ
- ชัก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
- โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว
- เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก
- ภาวะขาดน้ำ
- ปากเขียว
- ชัก
- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
- โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว
- ล้างมือเป็นประจําด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
- ไม่สัมผัสตา จมูก และปาก
- เมื่อจะจามหรือไอ ควรจามหรือไอใส่ข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ และล้างมือทุกครั้ง
- ทำความสะอาดโทรศัพท์หรือพื้นผิวของสิ่งของที่สัมผัสบ่อย
- หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด
- หลีกเลี่ยง ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- ดื่มน้ำมาก ๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำเปล่า หรือซุปอุ่น ๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
- พักผ่อนและนอนหลับเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น
- รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ เช่น อาการปวดหัวและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่ควรใช้แอสไพรินในเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากความเสี่ยงของโรคเรย์ (Reye’s disease)พักผ่อนอยู่บ้านจนกว่าจะหายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและชุมชน งดพบปะผู้อื่นเมื่อป่วย ล้างมือบ่อย ๆ หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านหรือไปโรงพยาบาลให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ
โทร. 032-322274-80 ต่อ 218, 233