โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง สาเหตุที่ทาให้เกิดโรคมีปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานของร่างกายทาให้เกิดการอักเสบภายในข้อ และกร่อนกระดูกในข้อได้ ส่วนใหญ่มักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้สาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. กรรมพันธุ์ 2. การติดเชื้อ 3. ฮอร์โมนเพศ(ผู้หญิงมีโอกาสมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า) 4. สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ถ้าโรคนี้เป็นต่อเนื่องไปนานๆ จะทาให้เกิดความพิการของข้อ ข้อคดงอ ผิดรูปผิดร่าง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจาวัน และการประกอบอาชีพได้ การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว ช่วยลดการผิดรูปและการทาลายในระยะยาวได้ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีอาการดังนี้ 1. ผู้ป่วยจะมีข้ออักเสบ (Arthritis) ซึ่งมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน กดเจ็บ โดยมักจะเป็นที่ข้อขนาดเล็ก ได้แก่ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อมือ ข้อนิ้วเท้า ส่วนข้อขนาดใหญ่ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อสะโพกสามารถพบได้น้อยกว่า โดยมักมีอาการปวดหลายข้อและเป็นแบบสมมาตร (Symmetrical Polyarthritis) อย่างไรก็ตามในระยะแรกของโรคอาจมีอาการอักเสบเพียงแค่ข้อเดียว และไม่สมมาตรได้ 2. ข้อฝืดตึง ตอนเช้าหรือหลังการหยุดใช้งานข้อเป็นระยะเวลานาน โดยอาการฝืดตึงมักเป็นนานเกิน 1 ชั่วโมง 3. ข้อพิการผิดรูป มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคมานาน เกิดจากการทาลายข้อ เอ็นและกล้ามเนื้อรอบข้อหย่อนยานและอ่อนแรง พบได้บ่อยที่บริเวณนิ้วมือ ข้อมือ 4. ปวดต้นคอและบริเวณท้ายทอย เกิดจากการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังระดับคอระดับที่ 1 และ 2 และอาการเกิดการเคลื่อนของกระดูก (C1-C2 subluxation) จนกดเบียดไขสันหลังและเส้นประสาทได้ การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การสืบค้นและวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ต้องอาศัยประวัติ อาการและอาการแสดงที่ตรวจร่างกายพบ ร่วมกับการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยและแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกันออกไป ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจที่จาเพาะกับโรค การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ คือการทาให้โรคสงบ หายปวด หายบวม หยุดยั้งการทาลายข้อเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจาวันได้อย่างปกติมากที่สุด ซึ่งทาได้โดย – การใช้ยา ประกอบด้วยยารับประทานหรือยาฉีดสาหรับรักษาเฉพาะเจาะจงกับโรคเพื่อลดการอักเสบ ควบคุมการลุกลามของโรค และยาช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อช่วยไม่ให้ผู้ป่วยต้องเจ็บปวดทรมานจากโรค – การผ่าตัด สาหรับกรณีที่ข้อถูกทาลายไปมากแล้ว การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนข้อจะช่วยให้ข้อทางานได้ดีขึ้น ลดความเจ็บปวด และแก้ไขความพิการได้ – กายภาพบาบัด รวมถึงการออกกาลังกาย เพื่อให้ข้อคงความยืดหยุ่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และแม้ว่าโรคจะสงบแล้วก็อาจกลับมาเป็นได้อีก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงจาเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมโรคไม่ให้กลับมารุนแรง และติดตามกับแพทย์เป็นระยะๆ การดูแลป้องกัน 1. หมั่นฝึกการบริหารข้อตามแพทย์สั่ง และประกอบภารกิจปกติเท่าที่จะทาได้ 2. พบแพทย์อย่างสม่าเสมอเพื่อแพทย์จะได้พิจารณา และประเมินผลการรักษาได้อย่างถูกต้อง 3. เมื่อมีอาการหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบรายงานให้แพทย์ทราบ 4. ทาจิตใจให้สงบและทาความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่ยอมรับพร้อมทั้งปรับตัวให้เหมาะกับสภาพนั้นก็จะทาให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำนัดหมาย กรุณาติดต่อ : แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพเมืองราช
โทร. 032-322274-80 ต่อ 271, 276