การดูแลตัวเองหลังใส่เฝือก
การดูแลตนเองหลังใส่เฝือก เฝือก มีทั้งชนิดปูน ไฟเบอร์กลาส พลาสติก เพื่อใช้ดามกระดูกของแขน ขา หรือลำตัวให้อยู่นิ่ง เฝือก ที่แห้งสนิทแล้วจะมีความแข็งแรงกว่าในขณะที่ยังเปียกอยู่มาก ถ้าเรารู้จักวิธีการดูแลรักษา เฝือกนั้นจะใช้ได้นานโดยไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนหนึ่ง การดูแลเฝือก ป้องกันการยุบหรือหัก ขณะที่เฝือกยังเปียกอยู่  –  วางเฝือกบนของนุ่มนิ่ม เช่น หมอน หรือฟองน้ำ  –  ประคองเฝือกในระหว่างเคลื่อนย้าย,คล้องแขน  –  ไม่ใช้มือบีบหรือกดเฝือกเพื่อทดสอบว่าแข็งหรือไม่ อย่าให้เฝือกเปียกชื้น หรือปล่อยให้น้ำเข้าเฝือก โดยใช้ถุงพลาสติกหุ้มเฝือกไว้เวลาอาบน้ำ ใช้ถุงพลาสติกหลายชั้น รวบปากถุงมัดไว้ในตำแหน่งที่ต่างกัน ห้ามนำเฝือกไปอังไฟถ้าเปียกน้ำควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรเดินทั้งเฝือก หรือเดินลงน้ำหนัก ถ้าแพทย์ยังไม่อนุญาต ห้ามตัดเฝือกออกเองบางส่วน หรือตัดออกทั้งหมดหากคิดว่ามีปัญหาเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ใช้ของแข็งหรือกิ่งไม้แยงเข้าไปในเฝือก จะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นหนองได้ ไม่ดึงสำลีรองเฝือกออกทิ้ง เพราะขอบเฝือกจะคมบาดผิวหนัง เฝือกจะหลวมหลุดได้ ห้ามขีดเขียนเฝือก ห้ามเคาะหรือกระแทกเฝือกรุนแรง ใช้ผ้าสะอาดเช็ด ปลายมือปลายเท้าที่อยู่นอกเฝือก วางขาบนหมอน หรือยกแขนสูง หรือคล้องแขนไว้ เพื่อลดอาการบวมของขาหรือแขนที่เจ็บ ขยับนิ้วมือนิ้วเท้าที่อยู่นอกเฝือก เพื่อลดการบวมและการยึดติดของข้อ รีบพบแพทย์โดยเร็ว หากมีอาการต่อไปนี้
  • ปวดมาก
  • บวมขยับนิ้วลำบาก
  • เล็บเป็นสีม่วง
  • ชา
  • เลือด,หนอง ออกจากเฝือก
  • เฝือกเน่ามีกลิ่นเหม็น
  • เฝือกหลวม เฝือกหลุด
  • มีเหตุที่คิดว่าผิดปกติอื่น ๆ ให้มาพบแพทย์
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำนัดหมาย กรุณาติดต่อ : แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพเมืองราช
โทร. 032-322274-80 ต่อ 271, 276